วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตำนานแม่น้ำร่องข้าง




กำเนิดแม่น้ำร่องช้าง(ตำนานที่  1 )      พระครูสุวรรณคณาภิรักษ์  เจ้าอาวาสวัดบุญเกิด  เจ้าคณะอำเภอดอกคำใต้ได้คัดมาจากตำนานพระธาตุแจ้โหว้เวียงห้าว  (ที่มีคุเวียงโบราณยังมีเหลือให้เห็นอยู่  ที่บ้านปาง ต.คือเวียง  อ.ดอกคำใต้เดี๋ยวนี้  ปางเมื่อ  ท้าวพญาลิ้นก่านเป็นใหญ่อยู่ในเวียงห้าวนั้น  ยังมีช้างตั๋ว 1 อยู่ที่ป่าคงยามีตั๋วดำ  งาเขียว เขาจึงเรียกชื่อว่า “จ้างปู้กำงาเขียว” ปายลูนมาจ้างตั๋วนั้นตกน้ำมันไล่ฆ่าคน คนตั้งหลายก็แตกตื่น ไปอยู่ที่บ้านสักหลวงซึ่งเป็นเมืองที่ท้าวพญาลิ้นก้านอยู่  ท่านก็เกณฑ์คนตั้งหลายขุดคูรอบเมืองทั้งกลางวันกลางคืนอย่างรีบฟั่งฟ้าวห้าวหาญจนจอบเสียมถูกนิ้วมือติ่นนิ้วมือปุดขาดไป คนทั้งหลายจึงใส่ชื่อนามของท้าวพญาลิ้นก่านว่า  “พระญาเวียงห้าว”  คนทั้งหลายก็กลัวช้างปู้ก่ำงาเขียวนั้น  เขาจึงพากันไปกราบไห้ว  พญาเวียงห้าวว่าจะกระทำฉันใด  พญาเวียงห้าวก็บอกหื้อคนทั้งหลายตกแต่งเครื่องบูชา  แล้วพากันไปสักการบูชา  พระธาตุแจ้โหว้ผู้คนทั้งหลายก็มาสมาทานศีลห้า ศีลแปด  แล้ว  โอกาสอารานาเอาปารมี อานุภาพแห่งพระ  ธาตุเจ้าและเทวบุตรเทวดาช่วยป้องกันต่าง ๆ   ต่อจากนั้นจ้างตัวปู้ก่ำงาเขียวก็ไม่สามารถเข้าไปในเมืองได้ จึงนอนอยู่ริมหนองน้ำแห่งหนึ่ง  หนองน้ำแห่งนั้นกผ้มีปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า  “หนองหล่ม” อันปรากฏอยู่ที่หัวบ้านหนองหล่มตราบจนทุกวันนี้  ขณะนั้นเป็นเดชะบุญของพญาเวียงห้าว  และไพร้ฟ้าข้ามมนตรีทั้งหลายที่ไปไหว้พระธาตุแจ้โหว้            สมาทานศีล  5  ศีล  8  ก็ดลบัลดาลให้ลูกสาวเมืองนันทบุรี  (เมืองน่านปัจจุบันนี้ )  ให้มีใจใคร่นั่งสาด ( เสื่อ)  งาปู้จ้างก่ำงาเขียว  อันว่าพญามีความรักลูกเป็นอันมากจึงตีฆ้องกล่าวว่า  “คนใดอาสาไปเอางาช้างปู้กำงาเขียวมาได้  พระองค์จักประทานเงินปันคำร้อย”  เมื่อนั้นมีพรานคนหนึ่งรับอาสาไปเอางาช้างมา  นายพรานนั้นก็ออกเดินทางไปตามป่าดงพงไพรก็ไปฆ่าช้างตัดเอางาไปถวายพญานันทบุรี  พญานันทบุรีก็ให้คนผู้ที่ฉลาดจักสานงาช้างเป็นสาด  (เสื่อ)  เอาให้ลูกสาวขอนหนึ่งอีกขอน  (ข้าง)  ก็ยังมีงาช้างดำปรากฏในพิพิธภัณฑ์เมืองน่านจนทุกวันนี้ส่วนช้างปู้ก่ำงาเขียวเทื่อตายแล้วก็มีฟ้าฝนตกลงมา  7 วัน 7 คืน  น้ำมากฟากนองเหลือล้นพ้นคณนาพัดเอาซากช้างตั๋วนั้นไหลไปตามห้วยดินแดง  (คนทั้งหลายจึงเรียกห้วยดินแดงนั้นว่า  “ฮ่องจ้าง”  (ร่องช้าง)  จนทุกวันนี้   น้ำร่องช้างเมื่อก่อนนั้นเมื่อผู้เขียนเป็นเด็กอยู่  (ปัจจุบันนี้ผู้เขียนมีอายุ  78 ปี)  น้ำแห้งมากไม่แห้งขอดตลอดปีปูปลามีมาก  เวลากลางพรรษา  น้ำนองพัดเอาก่อไผ่ไหลมาตามลำน้ำไหลท่วมถนน  หนทาง  ท่วมบ้านเรือนเสียหายทุกปี  มาบัดนี้แห้งแล้งไป  ซากช้างเหล่านี้ได้คงค้างอยู่ที่หนองแห่งหนึ่งคนทั้งหลายเรียกว่า  “หนองขวาง”  หนองขวางนี้อยู่ที่ระหว่างบ้านร่องช้างและบ้านแม่อิงเดี่ยวนี้  คนทั้งหลาย  จึงเรียกว่า  “หนองขวาง”   ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันชิ้นส่วนต่างๆ ของช้างที่เน่าผุพังก็ไหลแยกออกไปตามลำน้ำหัวช้างไหลไปค้างที่บวก  (หนองน้ำ)  คนทั้งหลายจึงเรียกว่า  “บวกหัวจ้าง”  (ช้าง)  ขาทั้งสามค้างอยู่บวกแห่งหนึ่ง  คนทั้งหลาย  จึงเรียกว่า “บวกสามขา”  ส่วนไตของช้างหรือภาษาเมืองเหนือเรียกว่า “มะแกว”  ไปค้างอยู่ที่แม่น้ำแห่งหนึ่ง คนทั้งหลาย  จึงเรียกว่า “ฮ่อง  (ร่อง) มะแกว ) ยังมีตราบเท่าทุกวันนี้              ลำดับต่อไปชิ้นส่วนต่าง ๆ  ของช้างก็ไหลไปรวมกันที่ท้ายหนองก็ถูกพัดให้ทะลุถุถากจนซากช้างชิ้นส่วนเหล่านั้นหายไปหมด   คนทั้งหลาย  จึงเรียกว่า  “หนองถุ”และคนทั้งหลายก็ยังเรียกว่าหนองถุจนทุกวันนี้      ฮ่องจ้างก็ดี  หนองขวางก็ดี  บวกหัวจ้างก็ดี  อ่องมะแกวก็ดี  และหนองถุกก็ดีก็ยังมีอยู่ในเขตระหว่าง  อำเภอดอกคำใต้  และเขตกิ่งอำเภอภูกามยาวในปัจจุบัน     ขอญาติโยมทั้งหลายช่วยกันอนุรักษ์ประวัติในท้องถิ่นของตนและช่วยอนุรักษ์ลำน้ำร่องช้างเอาไว้อย่างรุกล้ำถมที่สร้างบ้านเรือน  อย่าถมสองข้างร่องช้างใส่ท่อน้ำนิเดียวน้ำจะไม่มีที่อยู่ที่ไหล  อย่าไปทิ้งสิ่งกระปก  ขยะมูลฝอย  อย่าขุดส้วมห้อยตามลำน้ำ  จะเป็นบาป  ขอช่วยกันขุดก้นลอกให้ลึกให้มีน้ำอยู่ตลอดปีจะได้ใช้น้ำเมื่อเกิดไฟไหม้ไต้ลาม  ปลาจะมีให้เด็กเห็นบ้าง  เท่าที่มีบ้านอยู่ยาวเยียดตามลำน้ำร่องช้าง  ตั้งแต่ตำบลหนองหล่ม   ปิน  คือเวียง  บ้านถ้ำบางส่วน  บุญเกิด  ดอนศรีชุม  และสว่างอารมณ์  ตามลำดับคนโบราณก็อาศัยสายน้ำร่องช้าง  เป็นสายแห่งชีวิตจิตใจเขาโยกย้ายจากเมืองอื่นมาตั้งบ้านเรือนอยู่  เพราะอาศัยน้ำหล่อ  เลี้ยงทำไร่ไถนา  “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว”        ถ้าเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์  ลูกหลานของเราจะอยู่อย่างทุกข์  ยากลำบากต่อไป  และตัวเรามาเกิดอีกทีก็จะรักรรมที่เราทำไว้  จงช่วยกันอนูรักษ์เถิดบุญมาก  (ขยัน  ประหยัด  ซื่อสัตย์ อดทน  ดำรงธรรมมั่น  วินัยดี  สามัคคี  มีความสุข    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น